ในปัจจุบันการซื้อแฟรนไชส์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกลงทุนในยุคใหม่ที่หลายคนสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์อาหาร หรือแฟรนไชส์สินค้าและบริการต่าง ๆ การซื้อแฟรนไชส์นั้นหากจะเทียบกับการเปิดกิจการรูปแบบต่าง ๆ ถือว่าเป็นการเปิดกิจการที่ใช้การลงทุนน้อย แต่ทำกำไรได้พอสมควร และไม่ต้องมียุทธศาสตร์และการจัดการที่ยุ่งยาก ในปัจจุบันแฟรนไชส์เครื่องซักผ้าหรือแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมงถือว่าเป็น แฟรนไชส์น่าลงทุน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ
แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร
แฟรนไชส์คืออะไร? คำว่า แฟรนไชส์ (Franchise) มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ “Franchir” แปลว่า “สิทธิพิเศษ” ดังนั้นคำว่า “Franchise” จึงแปลความหมายทางธุรกิจได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ หมายถึง สิทธิพิเศษที่บริษัทใหญ่ที่เป็นบริษัทแม่มอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจการ โดยสิทธิพิเศษนี้จะครอบคลุมระบบและการจัดการเกือบทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้น สามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลยก็ตาม
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ เนื่องจากแฟรนไชส์หมายถึงกระบวนการทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่องค์กรได้พัฒนาวิธีการจัดการและรูปแบบ รวมไปถึงกลยุทธ์ทางการตลาด และพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการดำเนินงานในธุรกิจ จากนั้นองค์กรจึงดำเนินการถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ ตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าและบริการ ให้กับบุคคลอื่นภายใต้ตราหรือเครื่องหมายทางการค้า ช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยรับความเสี่ยงที่น้อยลง
รูปแบบของการทำธุรกิจของแฟรนไชส์
การประกอบธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์คืออะไร?
แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และด้วยความที่ลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นสามารถกำหนดงบประมานในการลงทุน สามารถควบคุมไม่ให้งบประมาณบานปลายได้ จึงทำให้ง่ายต่อการดูแลและจัดการ รูปแบบของแฟรนไชส์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของสิทธิ์ต้องการจะขายให้แก่ผู้รับสิทธิ์ โดยมีเงื่อนไขคร่าว ๆ ดังนี้
- การทำแฟรนไชส์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเจ้าของสิทธิ์ มักจะเป็นองค์กรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจและต้องการขยายธุรกิจของตนเองให้ครอบคลุมพื้นที่ในตลาดที่มากขึ้น ซึ่งเจ้าของสิทธิ์นั้นจะต้องถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจ การบริหารจัดการทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์ ซึ่งรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบันยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เป็นต้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เป็นที่นิยมและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
- ผู้รับสิทธิ์ คือผู้ที่ต้องการที่จะเริ่มธุรกิจโดยการซื้อแฟรนไชส์จากเจ้าของสิทธิ์ โดยในการตั้งต้นจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าและวิธีการดำเนินงานเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก (Franchise Fee)
ข้อควรพิจารณาของ Franchisor หรือ องค์กรที่เป็นเจ้าของสิทธิ์
ข้อควรพิจารณาของ Franchisor หรือ องค์กรที่เป็นเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์คืออะไร?
การที่จะดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบแฟรนไชส์นี้เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ โดยสามารถพิจารณาได้จากข้อมูลเหล่านี้
- องค์กรเจ้าของแฟรนไชส์ให้ระยะเวลาดำเนินการเท่าใด
- ควรวิเคราะห์จากข้อมูลการดำเนินการของผู้รับสิทธิ์รายอื่นว่าได้กำไรเท่าใดและมีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลในเชิงการตลาด
- องค์กรที่เป็นเจ้าของสิทธิ์มีการช่วยเหลือด้านธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เช่น การจัดอบรม การช่วยประเมินและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด การให้คำแนะนำในการหาทำเลที่ตั้ง
- องค์กรที่เป็นเจ้าของสิทธิ์มีความน่าเชื่อถือเพียงใด
ข้อควรพิจารณาของ Franchisee หรือ ผู้ประกอบการที่จะต้องรับสิทธิ์
ข้อควรพิจารณาของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร?
การที่ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะประสบความสำเร็จได้ ผู้รับสิทธิ์จะต้องนำธุรกิจไปต่อยอดได้ ซึ่งจะต้องมีความพร้อมในการลงทุนและพร้อมที่จะทำข้อตกลงที่มีรายละเอียดในหลาย ๆ ด้านกับเจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งสิ่งที่ควรพิจารณาของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หมายถึง การพิจารณาในปัจจัยการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- งบประมาณและต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน รวมไปถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินไปถึงจุดคุ้มทุนและกลายเป็นกำไร
- ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของตัวผู้ซื้อสิทธิ์เอง ยุทธศาสตร์ด้านการตลาดที่ Franchisor ได้ประเมินไว้มีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยเพียงใด
- ทำเลที่ตั้งในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ พื้นที่แถวนั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมหรือไม่ในการประกอบธุรกิจนี้
ประเภทของแฟรนไชส์สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. Product and Brand Franching คือ การที่องค์กรผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ให้สิทธิบุคคลอื่นในการขายสินค้าที่ตนเองผลิตขึ้น รวมถึงการให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า โดยผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับสิทธิ์สามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ
2. Business Format Franching คือ การที่อองค์กรผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ให้สิทธิบุคคลอื่นในการดำเนิน ธุรกิจเพื่อขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของสิทธิ และใช้ระบบการจัดการและการดำเนินการทางธุรกิจที่เจ้าของสิทธิ์ได้พิสูจน์แล้ว เป็นรูปแบบธุรกิจที่มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยเพราะทางแบรนด์เจ้าของสิทธิ์มักจะวางแผนและประเมินการตลาดให้ด้วยตัวเอง
3. Conversion Franchsing เป็นประเภทของแฟรนไชส์ที่พัฒนามาจากแฟรน์ไชส์ประเภท Business Format โดยออกแบบพัฒนาระบบการดำเนินงานเพื่อเปลี่ยนร้านค้าหรือธุรกิจที่เป็นอิสระให้ตัดสินใจเข้ามาร่วมในระบบแฟรนไชส์ เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการใช้ชื่อทางการค้าและการสร้างโฆษณาร่วมกันในระดับองค์กรที่ใหญ่และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise)ให้ประสบความสำเร็จ
ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร?
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นถึงจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเริ่มตั้งต้นธุรกิจเอง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสที่จะล้มเหลว ดังนั้นจึงควรใส่ใจและไม่มองข้ามปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจลักษณะนี้ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1.การเลือกประเภทธุรกิจที่ดีมีอนาคต ซึ่งหมายถึงการเลือกธุรกิจสินค้าหรือบริการที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อย การแข่งขันไม่สูงเกินไปและควรเลือกสินค้าและบริการที่มีจุดเด่นแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น
2.การเลือกทำเลที่ตั้งต้องมีความเหมาะสมกับประเภทสินค้าและบริการ เช่น หากต้องการเปิดแฟรนไชส์ธุรกิจ ร้านสะดวกซัก 24 Wash ก็ควรหาทำเลที่ตั้งในชุมชนที่พักอาศัยหนาแน่น อย่างบริเวณที่มีคอนโด อพาร์ตเมนท์และหอพักหลาย ๆ แห่ง
3.ความตั้งใจจริงในการทำงาน เป็นหลักสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าของธุรกิจต้องเอาใจใส่ และไม่ละเลยการทำงาน
4.เงินทุนหมุนเวียน ที่ไม่เพียงแค่เป็นเงินงบประมาณในการตั้งต้นเท่านั้น แต่จะต้องมีเงินทุนสำรองในการหมุนเวียนในช่วงแรกที่ธุรกิจยังไม่ถึงจุดคืนทุน
นอกจากปัจจัยหลัก ๆ ที่กล่าวไปข้างต้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาวิเคราะห์ร่วมด้วยและไม่ควรมองข้ามเช่นกันอย่าง การร่วมลงทุน การร่วมถือหุ้น การให้สัมปทาน การให้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายสินค้า เป็นต้น
สัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์
สัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์คืออะไร?
ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์คือการตกลงด้านการค้าของทั้งสองฝ่ายคือ องค์กรเจ้าของสิทธิ์และผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการรับสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าของแบรนด์นั้น ๆ รวมถึงระบบและการจัดการเกือบทั้งหมดตามรูปแบบยุทธศาสตร์ทางการตลาดของเจ้าของสิทธิ์ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างสัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์ ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันและเป็นสิ่งค้ำประกันให้เจ้าของสิทธิ์เชื่อถือในตัวผู้รับสิทธิ์
ส่วนของสัญญา
เจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) และผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะลงนามทำสัญญากันตามข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งการซื้อแฟรนไชส์มักจะมีเรื่องของความซับซ้อนทางกฎหมายเชิงพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อตกลงร่วมอยู่ด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะก่อนที่จะตกลงทำสัญญา เพื่อที่จะได้เกิดความยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
ส่วนของค่าธรรมเนียม
ผู้รับสิทธิ์ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) จะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าธรรมเนียมหลัก ๆ ที่ต้องจ่าย ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น เป็นรายจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อซื้อแฟรนไชส์ ให้กับผู้ถือสิทธิ์หรือเจ้าของแฟรนไชส์ในการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเงินรายงวด เป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมประเภทนี้มักจะเป็นรอบรายเดือน, 2 เดือน, หรือไตรมาส เป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าของสิทธิ์นำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของแฟรนไชส์
ประโยชน์ของแฟรนไชส์คืออะไร?
ประโยชน์และข้อดีของการลงทุนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มีดังนี้
- การลงทุนประกอบธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ส่งผลให้คุณได้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น แฟรนไชส์เครื่องซักผ้า ที่มีระบบการจัดการและการทำงานของตู้หยอดเหรียญที่เป็นเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้นโดยถูกพัฒนามาจากเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor)
- การลงทุนประกอบธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจมาก่อนก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ เพราะการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่องค์กรเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) จะให้การฝึกอบรมที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee)
- แฟรนไชส์มีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการสร้างและเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง
- การซื้อแฟรนไชส์มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการเริ่มต้นธุรกิจประเภทเดียวกันด้วยตัวเอง ส่งผลให้การซื้อแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
- แบรนด์ที่มีแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมีชื่อเสียงและภาพลักษณ์เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว ดังนั้นการทำการตลาดจึงเป็นเรื่องง่าย
- ได้รับการสนับสนุนด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจากองค์กรเจ้าของสิทธิ์ (Franchisor)
สรุป
การประกอบธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อธุรกิจหนึ่งเกิดความสำเร็จ และเจ้าของธุรกิจนั้นต้องการที่จะขยายธุรกิจต่อไปในวงกว้าง ด้วยการขายให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงน้อยและได้เห็นประโยชน์ของแฟรนไชส์
หากคุณต้องการตั้งต้นธุรกิจของตนเองและอยากขายสิทธิ์ในการทำธุรกิจในรูปแบบของการทำแฟรนไชส์ คุณจะต้องสร้างสินค้าหรือบริการที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง โดดเด่นกว่าธุรกิจรูปแบบเดียวกันในตลาดและจะต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ